คำสั่งวนลูป ![]() รูปที่ 7-1 แสดงความหมายของลูปในทางความคิด ในรูปที่ 7-1 จะเป็นลูปที่ไม่มีวันจบซึ่งในทางคอมพิวเตอร์ถือว่าเป็นข้อผิดพลาด ทางแก้ไขก็คือ การใช้เงือนไขเข้ามาช่วยในการกำหนดว่าจะให้วนลูปเท่าไร ซึ่งจะศึกษากันในหัวข้อต่อๆไป รูปแบบของลูป ในการตรวจสอบว่าจะให้ลูปนั้นจบการทำงานเมื่อไรนั้น จะมีรูปแบบของการตรวจสอบเงือนไขอยู่ 2 แบบ 1.Pretest Loop ลูปประเภทนี้จะทำการตรวจสอบเงื่อนไขก่อนว่าเป็นจริง หรือเป็นเท็จถ้าเป็นจริงก็ให้เข้าไปทำคำสั่งหรือชุดคำส่งต่อไป และเมื่อทำคำสั่งหรือชุดคำสั่งเสร็จแล้วก็จะกลับมาทำการตรวจสอบเงื่อนไขอีก ครั้ง แลดะจะทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จ ก็จบการทำงานของลูป ซึ่งแสดงในรูปที่ 7-2 ก. 2.post-Test loop ลูปประเภทนี้จะทำคำสั่งหรือชุดคำสั่งก่อน เมื่อเสร็จแล้วถึงจะมาตรวจสอบเงื่อนไขว่าเป็นจริงหรือเป็นเท็จ ถ้าเป็นจริงก็จะกลับไปทำคำสั่งหรือชุดคำสั่งเดิมอีกครั้งแลดะจะทำจนกว่า เงื่อนไขจะเป็นเท็จเช่นเดียวกัน ซึ่งแสดงในรูปที่ 7-2 ข. ![]() รูปที่ 7-2 แสดงการทำงานของลูปแบบ Pretest และ Post-Test ลูปทั้งสองแบบนั้นจะต่างกันตรงที่จำนวนการทำคำสั่งหรือชุดคำสั่งนั้นจะไม่ เท่ากัน คือเมื่อดูจากรูปที่ 7-2 จะเห็นได้ว่าลูปแบบ pretest นั้นโอกาสการทำคำสั่งหรือชุดคำสั่งที่น้อยที่สุดจะเท่ากับ 0 คือ เมื่อทำการตรวจสอบเงื่อนไขครั้งแรกแล้วเป็นเท็จก็จะออกจากลูป แต่ลูปแบบ post-test นั้นโอกาสที่น้อยที่สุดจะเท่ากับ 0 คือ เมื่อเข้าจะทำคำสั่งหรือชุดคำสั่งก่อน 1 ครั้งและเมื่อตรวจสอบเงื่อนไขครั้งแรกแล้วจะเป็นเท็จ ก็จะออกจากลูป การกำหนดและปรับปรุง นการใช้ลูป จะมีการกระทำที่สำคัญอยู่ 2 อย่าง ที่จะขาดไม่ได้เลยซึ่งถ้าขาดไปจะทำให้ลูปนั้นไม่ทำงาน หรือลูปทำงานแบบไม่มีวันจบ 1.การกำหนดค่า ก่อนที่เริ่มใช้ลูปจะต้องมีการกำหนดค่าที่นะใช้เป็นตัวควบคุมลูปก่อนซึ่งตัว ควบคุมนี้จะทำหน้าที่ในการตรวจอบว่าลูปนั้นได้ทำงานจนจบ ดังแสดงในรูปที่ 7-3 2.การปรับปรุง หลังจากที่ทำคำสั่งหรือชุดคำสั่งไปแล้วไม่มีการปับปรุงค่าของตัวควบคุมลูปก็ จะทำให้ลูปนั้นกลายเป็นลูปไม่มีวันจบได้เพราะฉะนั้นจะต้องทำการปรับปรุงค่า ของตัวควบคุมลูปทุกครั้งเพื่อจะได้นำค่าของตัวควบคุมไปตรวจสอบกับเงื่อนไข เพื่อจบการทำงานของลูป ![]() รูปที่7-3 แสดงการกำหนดค่าและการปรับปรุง ตารางที่ 7-1 ความแตกต่างระหว่าง Pretest Loop และ Post – Test Loop
คำสั่งวนลูปในภาษา C คำสั่งลูปในภาษา C นั้นจะมีอยู่ 3 คำสั่ง คือ คำสั่ง While คำสั่ง for และคำสั่ง do…while ซึ่งสองคำสั่งแรกเป็นลูปแบบ Pretest loop ส่วนคำสั่งสุดท้ายจะเป็นแบบ Post-test loop ![]() รูปที่ 7-4 แสดงคำสั่งวนลูปในภาษา CWhile loop คำสั่ง While จะใช้เงื่อนไขเป็นตัวควบคุมลูป ซึ่งลูป while นี้จะเป็นลูปแบบ pretest loop ซึ่งจะทำการตรวจสอบเงื่อนไขก่อนที่จะเข้าไปทำคำสั่งในลูป ผังการทำงานและชุดคำสั่งเบื้องต้นของ while ได้แสดงในรูปที่ 7-5 ![]() รูปที่ 7-5 แสดงผังการทำงานและชุดคำสั่งเบื้องต้นของคำสั่ง while ชุดคำสั่งเบื้องต้นที่แสดงในรูปที่ 7-5 ข จะเห็นได้ว่าในตัวลูปที่มีคำสั่งได้เพียงคำสั่งเดียวซึ่งถ้าต้องการให้มี หลายคำสั่ง ก็สามารถทำได้โดยเขียนชุดคำสั่งแบบ compound statement ดังแสดงในรูปที่ 7-6 ![]() รูปที่ 7-6 แสดงผังการทำงานและชุดคำสั่งที่เขียนแบบ compound statement โปรแกรมที่ 7-1 โปรแกรมแสดงตัวเลขที่เรียงจากตัวเลขที่รับเข้ามาจนถึงศูนย์
คำสั่ง For นั้นจะเป็นลูปแบบ pretest loop ที่ใช้นิพจน์ 3 นิพจน์ นิพจน์แรกเป็นการกำหนดค่า นิพจน์ที่ 2 เป็นเงื่อนไขในการตรวจสอบตัวควบคุมลูป และส่วนที่ 3 เป็นการปรับปรุงค่าของตัวควบคุมลูป ดังรูปที่ 7-7 แสดงผังการทำงานของคำสั่ง for ![]() รูปที่ 7-7 แสดงผังการทำงาน และชุดคำสั่ง for จากรูปที่ 7-7 จะพบว่าในตัวของคำสั่ง for สามารถมีคำสั่งได้เพียงหนึ่งคำสั่งเท่านั้นจะต้องใช้ชุดคำสั่งแบบ compound statement เข้ามา ดังแสดงในรูปที่ 7-8 และจะพบอีกว่าคำสั่ง for นั่นมีการทำงานเหมือน while แต่คำสั่ง for นั้นจะรวมการกระทำทั้งสามอย่างไว้ในบรรทัดเดียวกันเลย ดังในรูปที่ 7-9 แสดงการเปรียบเทียบระหว่างคำสั่ง for และ while ![]() รูปที่ 7-8 การผังการทำงานและชุดคำสั่งที่เขียนแบบ compound statement ![]() รูปที่ 7-9 แสดงการเปรียบเทียบระหว่างคำสั่ง while และคำสั่ง for การเปรียบเทียบการเขียนโปรแกรมโดยใช้คำสั่ง for และคำสั่ง while โดยโจทย์มีอยู่ว่าให้รับตัวเลขทางคีย์บอร์ด 20 ตัว แล้วนำตัวเลขทั้งหมาดมารวมกัน ซึ่งจากโปรแกรมข้างต้นด้านล่างจะเห็นได้ว่า คำสั่ง for จะช่วยให้ผู้ใช้ขึยนโปรแกรมได้สั้นลง
ปรแกรมที่ 7-2 เป็นโปรแกรมที่พิมพ์เลขตั้งแต่เลขที่ 1 จนเท่ากับเลขที่รับเข้ามาทางคีย์บอร์ด โปรแกรมที่ 7-2 โปรแกรมแสดงตัวเลขที่เรียงตัวเลขจากศูนย์ถึงตัวเลขที่รับเข้ามา
For(i=1;i<=limit;i+=2) แต่ถ้าต้องการให้พิมพ์ตัวเลขเรียงจากตัวเลยที่ราบเข้ามาถอยหลังไปจนถึง 1 ก็สามารถทำได้ดังนี้ For(I = l; I <= lmit; I +=2) แต่ถ้าต้องการให้พิมพ์ตัวเลขเรียงจากตัวเลขที่รับเข้ามาถอยหลังไปจนถึง 1 ก็สามารถทำได้ดังนี้ For (I = limit; I <= 1;I++) ในโปรแกรมที่ 7-3 เป็นการใช้คำสั่ง for ซ้อนกัน ซึ่งการใช้คำสั่ง for ซ้อนกันจะช่วยให้ในการเขียนโปรแกรมบางอย่างได้ง่ายขึ้น โปรแกรมที่ 7-3 การใช้คำสั่ง for ซ้อนกัน
คำสั่ง do…while เป็นลูปแบบ Post-Test Loop ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในข้างต้น ว่าลูปแบบนี้จะมีคำสั่งก่อนทีจะไปทำการตรวจสอบตัวควบคุมลูป ซึ่งผังการทำงานและชุดคำสั่งเบื้องต้นได้แสดงในรูปที่ 7-10 ซึ่งในตัวของคำสั่ง do….while นั้นจะมีคำสั่งได้เพียงคำสั่งเดียว ซึ่งถ้าต้องการเขียนเป็นชุดคำสั่งจะต้องเขียนชุดคำสั่งแบบ Compound Statement ดังแสดงในรูปที่ 7-11 ![]() รูปที่ 7-10 แสดงผังการทำงานและชุดคำสั่งเบื้องต้นของคำสั่ง do….while ![]() รูปที่ 7-11 แสดงผังการทำงานและชุดคำสั้งที่เขียนแบบ Compound Statement จากรูปจะเห็นได้วาคำสั่ง do…while นั้นจะมีการทำคำสั่งในลูปอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ถึงแม้จะตรวจสอบตัวควบคุมลูปแล้วเป็นเท็จก็ตาม คำสั่ง do…while นี้จะเหมาะสำหรับงานที่ต้องมีการทำคำสั่งอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ในโปรแกรมที่ 7-4 เป็นการใช้คำสั่ง do…while ในการรับค่าตัวเลขแล้ว เมื่อต้องการจะหยุดให้กดปุ่ม Ctrl + Z จากนั้นนำตัวเลขทั้งหมาดมารวมกัน โปรแกรมที่ 7-4 โปรแกรมบวกตัวเลข โดยใช้คำสั่ง do…while กิจกรรมนับคาบเรียน คำ
สั่ง ให้นักเรียนเขียนโปรแกรมตามตัวอย่างโปรแกรมด้านบน โดยหาผลลัพธ์ และส่งโปรแกรมที่เขียนมา
พร้อมอธิบายแต่ละบันทัด กดคลิกเื่พื่อส่งผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม รายละเอียดการติดตามการเรียน คำสั่งอื่นๆที่ใช้ในลูป ในการวนลูปนั้น บางครั้งการทำงานของลูปอาจจะทำให้ตัวควบคุมนยั้น มี่มีค่าที่นำตรวจสอบเพื่อจบการทำงานได้ หรือเมื่อพบกรณีใดกรณีหนึ่งขึ้นมา ผู้ใช้ไม่ต้องการให้ทำคำสั่งต่อไปแลกะต้องการให้ข้ามคำสั่งนั้นไปเลย เพราะฉะนั้นภาษาC จึงมีคำสั่งที่ช่วยการทำงานในลักษณะนี้ขึ้นBreak คำสั่งนี้จะพบแล้วในบทที่ 6 ในคำสั่ง switch เป็นคำสั่งในการกระโดดออกจากชุดคำสี่ง switch และมันก็สามารถนำมาใฃช้สในคำสั่งวนลูปได้เหมือนกัน เพื่อให้กระโดดออกจากลูปในกรณีต่างได้ ซึ่งแสดงการทำงานในรูปที่ 7-12 ![]() รูปที่ 7-12 แสดงการทำงานของคำสั่ง Break ในคำสั่งวนลูป จากรูปที่ 7-12 จะพบเมื่อเจอคำสั่ง break แล้ว การทำงานจะกระโดดออกจากลูป for ทันทีแล้วก็ไปทำคำสั่งของลูป while ต่อไปContinue คำสั่งนี้จะไม่ได้กระโดดออกจากลูปเลย แต่จะกระโดดคำสั่งอื่นๆในลูปไปทำการตรวจสอบตามนิพจน์เลย ดังรูปที่ 7-13 ได้แสดงการทำงานของคำสั่ง Continue ในคำสั่งลูปทั้ง 3 คำสั่ง /imgs/clip_image026.jpg รูปที่ 7-13 แสดงการทำงานของคำสั่ง Continue ในคำสั่งวนลูปทั้ง 3 คำสั่ง โปรแกรมที่ 7-5 เป็นโปรแกรมที่แสดงการใช้คำสั่ง Continue ซึ่งเมื่อรับค่าเข้ามาจะใช้คำสั่ง continue เพื่อกระโดดข้ามคำสั่งที่เหลือไป แล้วจะกลับไปรับค่าตัวต่อไปเลย โปรแกรมที่ 7-6 แสดงการใช้งานคำสั่ง Continue
กิจกรรมนับคาบเรียน คำ
สั่ง ให้นักเรียนเขียนโปรแกรมตามตัวอย่างโปรแกรม ด้านบน โดยหาผลลัพธ์ และส่งโปรแกรมที่เขียนมา
พร้อมอธิบายแต่ละบันทัด กดคลิกเื่พื่อส่งผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม รายละเอียดการติดตามการเรียน ตัวอย่างการใช้คำสั่งวนลูป โปรเกรมที่ 7-6เป็นโปรแกรมคำนวณหาเงินลงทุน ซึ่งค่าที่ต้องกำหนดให้คือ จำนวน เงินที่ลงทุน ดอกเบี้ย และจำนวนปีที่ต้องการ โปรแกรมที่ 7-6 พิมพ์สามเหลี่ยมขวา
กิจกรรมนับคาบเรียน คำ
สั่ง ให้นักเรียนเขียนโปรแกรมตามตัวอย่างโปรแกรม ด้านบน โดยหาผลลัพธ์ และส่งโปรแกรมที่เขียนมา
พร้อมอธิบายแต่ละบันทัด กดคลิกเื่พื่อส่งผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม รายละเอียดการติดตามการเรียน โปรแกรมที่ 7-7เป็นโปรแกรมบวกเลขทุกหลักเข้าด้วยกัน โดยตัวเลขจะรับเข้ามาทางคีย์บอร์ด โปรแกรมที่ 7-7 โปรแกรมบวกทุกตัวเลขทุกหลัก
กิจกรรมนับคาบเรียน คำ
สั่ง ให้นักเรียนเขียนโปรแกรมตามตัวอย่างโปรแกรมด้านบน โดยหาผลลัพธ์ และส่งโปรแกรมที่เขียนมา
พร้อมอธิบายแต่ละบันทัด กดคลิกเื่พื่อส่งผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม รายละเอียดการติดตามการเรียน โปรแกรมที่ 7-8 เป็นโปรแกรมที่ 7-7 แต่นำมาปรับปรุงโดยการใช้คำสั่ง do…while เข้ามาในการถามว่าจะทำงานอีกครั้งหรือไม่ โปรแกรมที่ 7-8 โปรแกรมบวกทุกตัวเลขทุกหลัก
กิจกรรมนับคาบเรียน คำ
สั่ง ให้นักเรียนเขียนโปรแกรมตามตัวอย่างโปรแกรม ด้านบน โดยหาผลลัพธ์ และส่งโปรแกรมที่เขียนมา
พร้อมอธิบายแต่ละบันทัด กดคลิกเื่พื่อส่งผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม รายละเอียดการติดตามการเรียน แบบทดสอบ รอดำเนินการ |