คำำศัพท์ท้ายบทเรียน

 คำำศัพท์ท้ายบทเรียน

บทที่ 1 ระบบคอมพิวเตอร์

Computer System

ระบบที่พัฒนามาจาก 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์เป็นส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ที่สามารถจับต้องได้ ส่วนซอฟต์แวร์เป็นโปรแกรมที่ทำงานอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำงานตามที่ผู้ใช้งานได้กำหนดไว้

Hardware

ฮาร์ดแวร์เป็นส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ที่สามารถจับต้องได้

Software

ซอฟต์แวร์เป็นโปรแกรมที่ทำงานอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำงานตามที่ผู้ใช้งานได้กำหนดไว้

Personal Computer

เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว และไม่ได้ทำการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ

Time-sharing

เป็นลักษณะที่มีเครื่อง คอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องมาต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางโดยคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเรียน กว่า Terminal การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์แบบนี้ คือ การประมวลผลที่อยู่ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเพียงเครื่องเดียว และ Terminal ทุกเครื่องจะส่งคำสั่งที่ต้องการมาประมวลผลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง เพราะการประมวลผลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางจะต้องมีการแบ่งเวลาในการ ประมวลคำสั่งต่าง ๆ ที่ส่งมาจาก Terminal ทุกเครื่อง

Client/Server

เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็น Server คอยดูแลจัดการทรัพยากรของระบบทั้งหมด และมีเครื่อง Clients ต่อเข้าที่เครื่อง Server โดยใช้ทรัพยากรต่าง ๆที่เครื่อง Server มีอยู่ ตามประสิทธิภาพของผู้ใช้แต่ละคน และการประมวลผลจะไม่ทำอยู่บนเครื่อง Server แต่จะประมวลผลที่เครื่อง Clients แต่ละเครื่องเอง แล้วอาจจะส่งข้อทูลต่าง ๆ ที่ไปเก็บที่เครื่อง Server

Computer Languages

ภาษาที่ใช้สำหรับเขียน เพื่อสร้างโปรแกรมขึ้นมาเพื่อใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์

Compiler

โปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการแปลง ภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง

Loader

เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่โหลดตัว Source Coed ลงไปในหน่วยความจำ

System Development Life Cycle

เป็นขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรม หรือระบบขึ้นมาใช้งาน

บทที่ 2 โครงสร้างภาษา C

Compiled Language

ภาษาที่มีคอมไฟลเลอร์ (Compiler) ทำหน้าที่ในการคอมไพล์ (Compile) หรือแปลงคำสั่งทั้งหมดในโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่อง (Machine Language) เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์นำคำสั่งเหล่านั้นไปทำงานต่อไป

Header Files

ส่วนที่เก็บไลบรารีมาตรฐานของภาษา C ซึ่งจะถูกดึงเข้ามารวมกับโปรแกรมในขณะที่กำลังทำการคอมไพล์

Global Variables

ตัวแปรที่สามารถเรียนใช้ได้ทุกฟังก์ชันของโปรแกรม

Functions

ส่วนที่เก็บคำสั่งต่าง ๆ ไว้ซึ่งในภาษา C จะบังคับให้มีฟังก์ชันอย่างน้อย 1 ฟังก์ชัน นั่นก็คือฟังก์ชัน Main() และในโปรแกรม 1 โปรแกรมสามารถมีฟังก์ชันได้มากกว่า 1 ฟังก์ชัน

Local Variables

ตัวแปรที่จะสามารถเรียกใช้ได้ เฉพาะฟังก์ชันที่ประกาศตัวแปรนั้น

Return Value

เป็นส่วนที่บอกให้รู้ว่า ฟังก์ชันนี้จะมีการส่งค่าอะไรกลับไปให้กับฟังก์ชันที่เรียกฟังก์ชันนี้

Identifier

เป็นกฎการตั้งชื่อตัวแปรและฟังก์ชั่น

Constants

ชนิดข้อมูลแบบค่าคงที่ ผู้ใช้จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรนั้น ในขณะที่โปรแกรมทำงานอยู่

Statements

คำสั่งต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นจนเป็นตัวโปรแกรม

Flowchart

ผังงาน มีไว้เพื่อให้ผู้ใช้ออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมก่อนที่จะลงมือเขียน โปรแกรม ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้เขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้นและไม่สับสน

บทที่ 3 กาพิมพ์และรับข้อมูล

Standard Input File

ไฟล์ที่ใช้เก็บข้อมูลก่อน ที่ได้รับจากผู้ใช้ผ่านทางคีย์บอร์ดเข้าไป

Standard Output File

ไฟล์ที่ใช้เก็บข้อมูลก่อน ที่จะนำไปแสดงออกทางอุปกรณ์ต่าง ๆ

printf

เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับแสดงค่าต่าง ๆ ออกทางจอภาพ

Back-slash character

ชุดค่าคงที่ของตัวอักษร ที่จะใช้ในการควบคุมการพิมพ์และแสดงเครื่องหมายบางอย่างที่ไม่สามารถพิมพ์เครื่องหมายนั้นตรง ๆ

Scanf

คำสั่งในการรับค่าข้อมูลจากผู้ใช้เข้ามาทางคีย์บอร์ด

getch

โปรแกรมจะหยุดให้ผู้ใช้ พิมพ์ข้อมูล 1 ตัวอักษร และเมื่อป้อนเสร็จแล้ว ไม่ต้องกดปุ่ม Enter และเคอร์เซอร์จะไม่ขึ้นบรรทัดใหม่และตัวอักษรที่พิมพ์ลงไปจะไม่แสดงออกทางจอ ภาพด้วย

getche

เป็นฟังก์ชันที่ทำงานเหมือนฟังก์ชัน getch แต่จะแสดงตัวอักษรที่พิมพ์เข้าไป ออกทางจอภาพด้วย

getchar

โปรแกรมจะหยุดให้ผู้ใช้ พิมพ์ข้อมูล 1 ตัวอักษร และเมื่อป้อนเสร็จแล้ว จะต้องกดปุ่ม Enter ด้วย และเคอร์เซอร์ก็จะขึ้นบรรทัดใหม่ ส่วนตัวอักษรที่พิมพ์ลงไปก็จะแสดงออกทางจอภาพด้วย

บทที่ 4 นิพจน์ทางคณิตศาสตร์

Expressions

นิพจน์ต่าง ๆ

Operand

ตัวถูกดำเนินการ หรือตัวแปรต่าง ๆ เป็นต้น

Operator

ตัวดำเนินการ เป็นเครื่องหมายต่าง ๆ

Precedence

ลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการ

Simple Assignments

การกำหนดค่าแบบง่าย

Compound Assignments

การกำหนดค่าแบบผสม

บทที่ 5 ฟังก์ชันของภาษา C

Function

เป็นตัวโปรแกรมส่วนหนึ่ง ที่นำไปเขียนแยกไว้ ถ้าจะใช้จะต้องมีการเรียนใช้ โดยในฟังก์ชันจะมีพารามิเตอร์ที่ใช้รับค่าจากฟังก์ชันที่เรียกใช้ และอาจจะมีค่าที่ส่ง หรือ Return Value

Function Header

เป็นส่วนหัวของฟังก์ชันซึ่งประกอบไป ด้วย 3 ส่วนหลัก คือ ชนิดข้อมูลของค่าที่ส่งกลับ (Return Type),ชื่อฟังก์ชัน (Function Name) และรายชื่อพารามิเตอร์

Function Body

คือส่วนที่ประกอบขึ้นเป็นฟังก์ชัน การประกาศตัวแปรแบบ Local และชุดคำสั่งต่าง ๆ ของฟังก์ชันนั้น

Prototype Declarations

การประกาศฟังก์ชัน โดยจะประกาศอยู่ตรงส่วนบนสุดของโปรแกรม หรือก่อนส่วนการประกอบตัวแปรแบบ Global

Function Call

เป็นการเรียกใช้ฟังก์ชัน

Pass by Value

การส่งค่าแบบกำหนดค่า

Pass by Reference

การส่งค่าแบบอ้างอิง

Abs

ฟังก์ชันนี้ จะส่งค่ากลับเป็นค่า Absolute ของตัวเลขที่ส่งไปให้ค่า Absolute คือ ค่าทางบวกของค่านั้น โดยจะต้องมีการส่งค่าพารามิเตอร์ที่มีชนิดข้อมูลเป็นตัวเลขจำนวนเต็มหรือ Integer

Ceil

ฟังก์ชันที่จะหาค่าจำนวนเต็มที่มากกว่า หรือเท่ากับค่าที่ส่งไปให้

Floor

ฟังก์ชันที่จะหาค่าจำนวนเต็มที่น้อยกว่า หรือเท่ากับค่าที่ส่งไปให้

บทที่  6   คำสั่งเงื่อนไข

Logical  Data

ข้อมูลตรรกะ

Not

คำสั่งที่ใช้เปลี่ยนค่าที่เป็นเท็จ  หรือกลับกันหรือเปลี่ยนจาก 0 เป็น  1

and

ใช้เชื่อง 2  เงื่อนไข หรือมากกว่าจะเป็นผลลัพธ์จริงเมื่อเงื่อนไขทั้ง 2หรือทั้งหมดเป็นจริง และจะให้เป็นเท็จเมื่อมีอย่างน้อย1 เงื่อนไขเป็นเท็จ

Or

ใช้เชื่อม 2 เงื่อนไขหรือมากว่าจะให้เป็นผลลัพธ์จริงเมื่อมีอย่างน้อย1เงื่อนไขเป็นจะให้ เป็นเท็จเมื่อเงื่อนไขทั้ง 2 หรือทั้งหมดเป็นเท็จ

If… else

เป็นคำสั่ง 2 ทางเลือกอันหนึ่งซึ่งถ้าเงื่อนไขเป็นจริงจะทำคำสั่ง 1 แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จก็จะไปทำอีกคำสั่ง1

If

เป็นคำสั่ง 2 ทางเลือกอันหนึ่งซึ่งถ้าเงื่อนไขเป็นจริงจะทำคำสั่ง 1 แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จเป็นจะกระโดดออกจากชุดคำสั่ง if

Nested if

เป็นคำสั่ง If… else ที่มีคำสั่ง If… else หรือคำสั่ง if ซ้อนอยู่ด้านใดอีกด้านหนึ่ง

Switch

เป็นคำสั่งหลายทางเลือก ซึ่งเป็นคำสั่งที่แปลงมาจากคำสั่ง Nested ifคำสั่งนี้จะมีตัวแปรหนึ่งที่ใช้หาว่าคำสั่งไหน

Case                                                                      

เป็นส่วนหนึ่งของคำสั่ง Switch คือเป็น

Else – if 

เป็นคำสั่งที่ใช้แทนคำสั่ง Switch นั้นจะต้องเป็นชนิดข้อมูลที่เป็นจำนวนเต็มเท่านั้น แต่ถ้าเมื่อไรที่ต้องใช้ตัวแปรที่เป็นชนิดข้อมูลทศนิยม ก็จะไม่สามารถใช้คำสั่ง switch ได้แต่ภาษา C ก็ได้มีคำสั่งอีกคำสั่งหนึ่งที่เป็นคำสั่งหลายทางเลือกและสามารถใช้ได้กับ ชนิดข้อมูลทุกประเภทคำสั่งนั้นก็คือ else – if ซึ่งชุดคำสั่งเหมือนกับคำสั่ง if…else แต่ต่างกันตรงที่ในคำสั่ง else ใช้ต่อด้วยคำสั่ง if ได้เลย

บทที่ 7  คำสั่งวนลูป

Loop                            

การวนทำคำสั่งเดิมหลาย ๆ ครั้ง

Pretest  

                ลูปประเภทหนึ่ง จะทำการตรวจสอบเงื่อนไขก่อนว่าเป็นจริง หรือเป็นเท็จ ถ้าเป็นจริงก็ให้เข้าไปทำคำสั่งหรือชุดคำสั่งต่อไป และเมื่อทำคำสั่งหรือชุดคำสั่งเสร็จแล้วก็จะกลับมาทำการตรวจสอบเงื่อนไขอีก ครั้งและจะทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จ ก็จบการทำงานของลูป

Post – Test           

ลูปประเภทหนึ่ง จะทำคำสั่งหรือชุดคำสั่งก่อน เมื่อเสร็จแล้วถึงจะมาตรวจสอบเงื่อนไขว่าเป็นจริงหรือเป็นเท็จ ถ้าเป็นจริงก็จะกลับไปทำคำสั่งหรือชุดคำสั่งเดิมอีกครั้ง และจะทำจนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จเช่นเดียวกัน

While                                    

ลูป while นี้ใช้เงื่อนไขเป็นตัวควบคุมลูป และเป็นลูปแบบ Pretest Loop ซึ่งจะทำการตรวจสอบเงื่อนไขก่อนที่จะเข้าไปทำคำสั่งในลูป

For                                        

ลูป while นี้ใช้เงื่อนไขเป็นตัวควบคุมลูป และเป็นลูปแบบ Pretest Loop ซึ่งจะทำการตรวจสอบเงื่อนไขก่อนที่จะเข้าไปทำคำสั่งในลูปคำสั่ง for นั้นจะเป็นลูปแบบ Pretest Loop  ที่ใช้นิพจน์ 3 นิพจน์ นิพจน์แรกเป็นการกำหนดค่า นิพจน์ที่ 2 เป็นเงื่อนไขในการตรวจสอบตัวควบคุมลูป

Do…while                           

คำสั่ง do…while เป็นลูปแบบ Post – Test Loop ลูปแบบนี้จะมีคำสั่งก่อนที่จะไปทำการตรวจสอบตัวควบคุมลูป

Break    

เป็นคำสั่งในการกระโดดออกจากชุดคำสั่ง Switch และมันก็สามารถนำมาใช้ในคำสั่งวนลูปได้เหมือนกันเพื่อใช้กระโดดออกจากลูปใน กรณีต่าง ๆ ได้

Continue                              

คำสั่งนี้จะไม่ได้กระโดดออกจากลูปเลย แต่จะกระโดดคำสั่งอื่น ๆ ในลูปไปทำการตรวจสอบตามนิพจน์เลย

บทที่ 8 อาร์เรย์

Element                                

สมาชิกของอาร์เรย์

Basic Initialization              

เป็นการประกาศและกำหนดลักษณะ พร้อมทั้งกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับอาร์เรย์เลย จะกำหนดว่ามีจำนวน Element กี่ Element พร้อมกำหนดค่าให้แต่ละ Element เลย

InitializationWithout Size 

เป็นการประกาศและกำหนดลักษณะ พร้อมทั้งกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับอาร์เรย์ แต่ไม่กำหนดว่าจำนวน Element ใดเท่าไร แต่จะกำหนดค่าให้ไปเลย แล้วตัวคอมไพเลอร์จะกำหนดจำนวนของ Element ตามจำนวนค่าที่กำหนดให้

Partial Initialization            

เป็นการประกาศและกำหนดลักษณะ พร้อมทั้งกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับอาร์เรย์ โดยกำหนดเลยว่ามีจำนวน Element กี่ Element แต่จะกำหนดค่าให้ไม่ครบตามจำนวนของ Element ฉะนั้น Element ที่เหลือจะมีค่าเป็น 0

Initialization to All Zero

เป็นการประกาศและกำหนดลักษณะ พร้อมทั้งกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับอาร์เรย์ โดยกำหนดเลยว่ามีจำนวน Element กี่ Element แต่ค่าที่กำหนดให้ Element ทุกตัวมีค่าเป็น 0 ทั้งหมด

Passing Individual Elements            

การส่งค่าแบบ Element เดียว ซึ่งมีการกระทำเหมือนกับอาร์เรย์ 1 มิติ คือ ให้ลูปวนส่งค่าไปทีละ Element

Passing The Whole Array

การส่งค่าแบบทั้งอาร์เรย์ เมื่อผู้ใช้ต้องการส่งค่าอาร์เรย์ 2 มิติ ไปให้กับฟังก์ชันอื่น จะใช้ชื่ออาร์เรย์ 1 มิติซึ่งฟังก์ชันที่ถูกเรียกใช้จะต้องมีการประกาศพารามิเตอร์ที่  เป็นอาร์เรย์ 2 มิติ

Passing a Row     

การส่งค่าที่แถว เป็นการส่งค่าทั้งแถว โดยการใช้ลำดับของแถวเป็นตัวส่งไป ซึ่งพารามิเตอร์ที่รับจะเป็นอาร์เรย์ 1 มิตินั้น ในฟังก์ชันที่ถูกเรียงก็จะใช้ลูป for เพียง 1 ลูปในการทำงานเหมือนกับการส่งอาร์เรย์ 1 มิติ มาให้

 

 

บทที่ 9 พอยเตอร์

Pointer  

ต้นฉบับของชนิดข้อมูล เป็นชนิดข้อมูลที่สร้างจากข้อมูลมาตรฐานชนิดหนึ่ง ค่าของมันก็คือตำแหน่ง (Address) ที่อยู่ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ซึ่งจะใช้สำหรับกำหนดค่าหรือเข้าถึง ข้อมูล พอยเตอร์นั้นสร้างจากแนวความคิดพื้นฐานของ Pointer Constants

Address                                                

เป็นตำแหน่งหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูล

Pointer Values    

เป็นตำแหน่ง Address ของตัวแปรนั้น ถ้าต้องการค่าตำแหน่ง Address ของตัวแปรใด หรือจะกำหนดค่าที่รับเข้ามาทางคีย์บอร์ดให้ไปเก็บไว้ที่ตัวแปรนั้น จะต้องใช้เครื่องหมาย Address หรือ &

Pointer Variable                                 

ตัวแปรที่มีลักษณะเป็นพอยเตอร์

Indirection           

เป็นการประกาศและกำหนดลักษณะ พร้อมทั้งกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับอาร์เรย์ โดยกำหนดเลยว่ามีจำนวน Element กี่ Element แต่ค่าที่กำหนดให้ มีเลข 0 เพียงตัวเดียว ตัวคอมไพเลอร์จะกำหนดให้ Element ทุกตัวมีค่าเป็น 0 ทั้งหมด

Pointers To Pointers                          

การใช้พอยเตอร์ตัวหนึ่ง ชี้ไปยังพอยเตอร์อีกตัวหนึ่งซึ่งพอยเตอร์นั้นชี้ไปยังตัวแปร

Pointer as Formal Parameters         

การใช้พอยเตอร์เป็นพารามิเตอร์

บทที่  10 สตริง 

String                                    

อาร์เรย์ของตัวอักษร ที่มีข้อมูลชนิดตัวอักษรเรียงกันไปแต่จะต้องมีจุดสิ้นสุดด้วย โดยจะใช้ตัวอักษรวางหรือ Null Character เป็นจุดสิ้นสุดของสตริง

Null Character                                    

ตัวอักษรวาง

Strlen                                                    

เป็นฟังก์ชันที่ส่งค่ากลับ เป็นจำนวนความยาวของสตริงที่ส่งไปให้ โดยจะรวมจุดสิ้นสุดของสตริงหรือ Null Character ด้วย ถ้าเป็นสตริงว่างจะส่งค่ากลับเป็น 0

Strcpy                                                   

เป็นฟังก์ชันในการคัดลอกสตริงพื้นฐาน การทำงาน คือ จะทำการคัดลอกสตริงต้นทางหมด ซึ่งจะรวมไปถึง Null Character ด้วย ไปใส่ในสตริงปลายทาง

Strncpy

เป็นฟังก์ชันในการคัดลอกสตริง ที่จะสามารถแก้ไขปัญหาของฟังก์ชัน strcpy ได้ เนื่องจากฟังก์ชันนี้ ผู้ใช้สามารถกำหนดความยาวในการคัดลอกได้

Strcmp                                                 

ฟังก์ชันทั้งสองจะทำการเปรียบเทียบเหมือนกัน

Strncmp               

ฟังก์ชันทั้งสองจะทำการเปรียบเทียบเหมือนกัน แต่จะกำหนดความยาวในการเปรียบเทียบได้

Strcat                                    

ฟังก์ชันที่ใช้ในการต่อสตริง

บทที่11ข้อมูลแบบโครงสร้างและยูเนียน

Typedef                                                

คำสั่งในการสร้างชนิดข้อมูลชนิดใหม่ จากชนิดข้อมูลพื้นฐาน

Structure              

การรวมตัวแปร ที่มีชนิดข้อมูลหลายแบบมารวมกันให้เป็นโครงสร้างเดียวกัน แล้วโครงสร้างนั้นก็จะมีชื่อประจำตัวของโครงสร้างนั้นด้วย แต่ละตัวแปรในโครงสร้าง จะเรียกว่าสมาชิก ซึ่งในหนึ่งโครงสร้างนั้นสามารถมีตัวแปรหรือสมาชิกได้ไม่จำกัด และแต่ละสมาชิกจะมีหน่วยความจำของตัวเอง

Indirection                                           

การเข้าสมาชิกในโครงสร้างที่ใช้เครื่องหมาย .

Selection                                              

การเข้าสมาชิกในโครงสร้างที่ใช้เครื่องหมาย ->

Union                                       

เป็นข้อมูลที่มีลักษณะคล้ายกับข้อมูล แบบโครงสร้างแต่ตัวแปรหรือสมาชิกต่าง ๆ ในยูเนียนนั้น จะใช้หน่วยความจำเดียวที่เดียวกัน คือจะมีตัวแปรหรือสมาชิกใดสมาชิกหนึ่งเท่านั้นที่ใช้หน่วยความจำในช่วงเวลา นั้น

บทที่ 12 ไฟล์

File                                                        

ที่เก็บข้อมูลต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ และในภาษา C นั้น ไฟล์ก็จะมีความหมายรวมไปถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย

Logical Interfaces                              

เป็นตัวกลางในการติดต่อกับไฟล์

Text files              

เป็นไฟล์ตัวอักษร เพราะโครงสร้างในการเก็บข้อมูลที่ค่าตัวเลขจำนวนเต็ม จุดทศนิยม หรือในลักษณะที่เป็นโครงสร้าง ซึ่งการเก็บ ข้อมูลจะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองตามรหัส ASCII

Binary Files         

เป็นไฟล์ที่เก็บข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบ ของค่าต่าง ๆ ซึ่งข้อมูลที่ไฟล์ประเภทนี้จัดเก็บ จะสามารถเป็นทั้งตัวเลขจำนวนเต็ม ตัวเลขทศนิยม ตัวอักษร อาร์เรย์ และข้อมูลแบบโครงสร้าง โดยการจัดเก็บนั้นจะเก็บเหล่านั้นลงไปตรง ๆ เลย เช่น 16706 ก็จะเป็นค่าที่เหมือนอ่านกลับมาเป็นค่าเดิม แต่ Text Files จะเก็บเป็นตัวอักษร 1 6 7 0 6

File Table             

ส่วนของหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ ไฟล์ เช่น ชื่อไฟล์ เป็นตัวชี้ตำแหน่งของไฟล์ เป็นต้น โดยจะมีตัวแปรที่เป็นไฟล์พอยเตอร์อยู่ ซึ่งไฟล์พอยเตอร์ตัวนี้จะมีข้อมูลเป็นโครงสร้างชนิด FILE  ซึ่งลักษณะขอ File Table

Fopen   

ฟังก์ชันในการเปิดไฟล์ คือ ฟังก์ชัน fopen  ฟังก์ชันนี้ต้องการพารามิเตอร์ 2 ตัว ตัวแรกคือชื่อไฟล์ที่ต้องการเปิด ซึ่งอาจจะรวมที่อยู่ของไฟล์โปรแกรม และตัวที่ 2 จะเป็นโหมดในการเปิด ซึ่งจะมีโหมดการเปิดอยู่ 3 โหมด

Fclose                                                   

เป็นฟังก์ชันที่ใช้เปิดไฟล์ ที่ปิดไว้

Fread                                                    

เป็นฟังก์ชันในการอ่านข้อมูลจาก Binary File

Fwrite                                   

เป็นฟังก์ชันในการเขียนข้อมูลลง Binary File

Comments